การศึกษาสัญลักษณ์ในจิตรกรรมภาพปริศนาธรรมของนิกายธรรมยุต
ผู้แต่ง
|
สุธา ลีนะวัต |
ISBN
|
978-616-91513-1-9 |
จำนวนหน้า
|
145 หน้า
|
“การศึกษาสัญลักษณ์ในจิตรกรรมภาพปริศนาธรรมของนิกายธรรมยุต” เป็นการวิจัยแบบพื้นฐาน (Basic Research) ของสาขาประวัติศาสตร์ศิลป์ที่เน้นศึกษาและแสวงหาความรู้ใหม่เกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถของวัดบรมนิวาสและวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงลักษณะและความแตกต่างระหว่างพุทธศิลป์สยามวงศ์กับนิกายธรรมยุต ในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 24 เนื้อหาและรูปแบบของภาพปริศนาธรรมนับได้ว่าทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของการนำเสนอเนื้อหาในพุทธศาสนาด้วยรูปแบบของภาพจิตรกรรมเลียนแบบตะวันตก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และเป็นเสมือนสิ่งเชื่อมโยงของการใช้สัญลักษณ์สื่อความหมายถึงพระคุณอันประเสริฐของพระรัตนตรัยในพุทธศาสนาตามโลกทัศน์เดิมของพุทธศิลป์แบบสยามวงศ์เข้ากับสภาพสังคมวิทยาการใหม่แบบต่าง ๆ รูปแบบของจิตรกรรมแบบตะวันตกที่กำลังเริ่มแพร่เข้าสู่ศิลปกรรมในประเทศไทย เช่น การให้การรักษาของแพทย์ และสิ่งสาธารณสมบัติที่ปรากฏทั่วไปตามชุมชนแบบตะวันตก ฯลฯ ดังนั้น การศึกษาภาพปริศนาธรรมในครั้งนี้ จึงเป็นผลการค้นคว้าที่เป็นคุณประโยชน์ต่อความเข้าใจถึงพัฒนาการของพุทธศาสนาและรูปแบบของพุทธศิลป์ในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 24 ได้เป็นอย่างดี
ราคา 150.- บาท