ศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับชาดกในพุทธศาสนา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๐๐ – ๒๔๐๐
ผู้แต่ง
|
นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว |
ISBN
|
978-974-310-241-7 |
จำนวนหน้า
|
136 หน้า
|
ความเปลี่ยนแปลงของจิตรกรรมหมวดชาดกในพุทธศาสนา ผ่านศิลปกรรมกลุ่มจิตรกรรมฝาผนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาดกในช่วงก่อนและหลังการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งผู้เขียนได้เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของศิลปะเข้ากับบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะในแง่ความคิดและความเชื่อ ซึ่งก่อนรับอิทธิพลตะวันตก เป้าหมายของพุทธศาสนิกชนคือ “วิมุตติ” การหลุดพ้นและนิพพาน แต่เมื่ออารยธรรมตะวันตกเน้นที่เหตุผลนิยม ความมุ่งหวังของคนปัจจุบันจึงยึดอยู่กับ “โลกียะ” คือการแสวงหาความสุขสบายและความร่ำรวย ดังนั้น จิตรกรรมไทยในอดีตจึงเสนอ “ความจริง” ในโลกทัศน์ของพุทธศาสนา ซึ่งแตกต่างจาก “ความจริงเชิงประจักษ์” ของคนสมัยใหม่
ดังที่แต่เดิมมา อิทธิพลของชาดกที่เคยเป็นพลังในการผลักดันสร้างแรงบันดาลใจให้สังคมไทยบรรลุอุดมคติทางพุทธศาสนานั้นจะอ่อนแรงลงไป ทว่าพุทธศาสนานั้นหาได้หยุดนิ่งหรืออ่อนแรงไปตามไม่ พุทธศาสนาได้ปรับตัวและพร้อมที่จะปรับตัวไปกับสังคมไทยอยู่เสมอ สังเกตได้จากเนื้อหาและรูปแบบของพุทธศิลป์ที่มีพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดจวบจนทุกวันนี้ ความเปลี่ยนแปลงของศาสนาและศิลปะนั้น หาใช่ดัชนีตัวชี้วัดความรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของสิ่งใดไม่ แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเครื่องสะท้อนภาพสังคมที่กำลังเติบโตและเคลื่อนไปทุกขณะ ซึ่งพุทธศาสนาและศิลปะต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย
ราคา 110.- บาท