มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์

ประวัติศาสตร์ศิลปะ - ความคิดใหม่ ความรู้ใหม่

ถอดรหัสพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง
เกรียงไกร เกิดศิริ และคณะ
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
วัณณสาส์น นุ่นสุข
บัณฑิต สุทธมุสิก
พระครูสิริธรรมาภิรัต (ธรรมรัต อริยธมฺโม)
บัญชา พงษ์พานิช
ISBN
978-616-91513-5-7
จำนวนหน้า
102 หน้า

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมืองนครศรีธรรมราช มีความสำคัญทั้งในแง่การออกแบบสถาปัตยกรรม และพุทธศิลป์ที่สื่อความหมายปรัชญาทางพุทธศาสนาและพุทธประวัติ โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่สันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกาตามแบบอย่างคติพุทธศิลป์สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และมีพัฒนาการทางรูปแบบสถาปัตยกรรมโดยการผสมผสานลักษณะท้องถิ่นเข้าไป ดังปรากฏจากการลดส่วนความกว้างขององค์ระฆังลง ทำให้รูปทรงองค์เจดีย์เพรียวขึ้น สัดส่วนสัมพันธ์ระหว่างความสูงกับความกว้างเป็น๒:๑ ความสูง ๒๘ วา ความกว้าง ๑๔ วา อันเป็นลักษณะครบถ้วนสมบูรณ์ด้านกายภาพและสอดรับกับปรัชญาทางพุทธศาสนา คือ รูปธรรม ๒๘ และวิญญาณ ๑๔ เจดีย์ทรงระฆังขององค์พระบรมธาตุยังเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่ได้นำรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังเช่นนี้ไปสร้างยังดินแดนต่าง ๆ ดังนั้นแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระบรมธาตุเจดีย์แสดงถึงผลงานชั้นเลิศของฝีมือช่างอย่างแท้จริง พระบรมธาตุเจดีย์ยังได้ชื่อว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ต้องมากราบไหว้บูชาสักครั้งในชีวิต เพราะถือว่า เป็นการสั่งสมการสร้างบุญกุศลในชีวิต นำไปสู่คติความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม ในการบูชาพระบรมธาตุเจดีย์มาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน

ดังปรากฏจากประเพณีการนำแก้วแหวนเงินทองมาถวายเป็นพุทธบูชา ที่เรียกกันว่า “เอาของมาขึ้นธาตุ” ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ซึ่งเป็นคติความเชื่อเดียวกับชาวพุทธสายวัชรยานของทิเบต เนปาล สิกขิม และภูฏาน ประเพณีสวดด้าน ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ เป็นต้น คุณธรรมเกี่ยวกับการบูชาองค์พระบรมธาตุยังสอดแทรกลงไปในการละเล่นมโนราห์ เพลงบอกหนังตลุง เพื่อเป็นคติเตือนใจชาวเมืองนครศรีธรรมราชและชาวใต้อยู่จวบจนปัจจุบัน

ราคา 180.- บาท


ขอข้อมูลเพิ่มเติม และสั่งซื้อได้ที่ +662 011 0269
อีเมล์ piriyafoundation@gmail.com
Line Official: @piriyafoundation

Contact Piriya Krairiksh Foundation

Address

30/7 Soi Ruamrudee
Ploenchit Road, Lumpini, Pathumwan
Bangkok 10330 Thailand
Copyright © 2022 Piriya Krairiksh Foundation. All Rights Reserved