มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์

ประวัติศาสตร์ศิลปะ - ความคิดใหม่ ความรู้ใหม่

ศิลปกรรมหลังพ.ศ. ๒๔๗๕

ผู้แต่ง
พิริยะ ไกรฤกษ์ และ เผ่าทอง ทองเจือ
ผู้แปล
พรพิมล เสนาวงศ์
ISBN
-
จำนวนหน้า
- หน้า

จากการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๒ ประการที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คือ การยอมรับขนบธรรมเนียมและเทคโนโลยีตะวันตกในช่วงแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๕ และการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ทำลายแบบแผนวัฒนธรรมตามประเพณีซึ่งดำเนินมาโดยไม่มีการแก้ไขเป็นเวลาติดต่อกันมาถึง ๕๐๐ ปี บทความนี้จึงมุ่งเสนอร่องรอยของความเจริญเติบโตของศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่เริ่มก่อตัวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓/ ค.ศ. ๑๘๖๘ – ๑๙๑๐) เป็นต้นมา โดยแบ่งออกเป็น ๖ บท ตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่ ระยะแรกซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๗๕ (ค.ศ. ๑๘๖๘ – ๑๙๓๒) เป็นระยะแห่งความเสื่อมของศิลปะแนวประเพณีนิยม และเริ่มยุคของศิลปะสมัยใหม่  ระยะที่สองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๘๗ (ค.ศ. ๑๙๓๒ – ๑๙๔๔) เป็นระยะสร้างชาติของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งสนับสนุนศิลปะสมัยใหม่ เพื่อเป็นวิธีทางดำเนินโครงการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า ระยะที่สามนับจาก พ.ศ. ๒๔๘๗ – ๒๕๐๔ (ค.ศ. ๑๙๔๔ – ๑๙๖๑) เป็นยุคที่อุทิศให้กับความพยายามของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ในการตั้งสถาบันศิลปะร่วมสมัย ระยะที่สี่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๐๘ (ค.ศ. ๑๙๖๑ – ๑๙๖๕) เป็นระยะที่ตรงกับการมองโลกในแง่ดีของศิลปินรุ่นหนุ่มสาวซึ่งออกไปต่อสู้กับโลกภายนอกด้วยตนเองเป็นครั้งแรก ระยะที่ห้าเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๘ – ๒๕๑๘ (ค.ศ. ๑๙๖๕ – ๑๙๗๕) นับเป็นสิบปีแห่งความยุ่งเหยิงที่ทำให้ศิลปินตระหนักในบทบาทของตนเองที่มีต่อโลกรอบตัว สุดท้ายคือ ระยะที่หกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ. ๑๙๗๖) จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๒๕/ ค.ศ. ๑๙๘๒) เป็นระยะที่ศิลปินสมัยใหม่ใกล้เข้าสู่วุฒิภาวะโดยมีความรับผิดชอบต่อศิลปะและสังคมมากขึ้น

ราคา .- บาท


ขอข้อมูลเพิ่มเติม และสั่งซื้อได้ที่ +662 011 0269
อีเมล์ piriyafoundation@gmail.com
Line Official: @piriyafoundation

Contact Piriya Krairiksh Foundation

Address

30/7 Soi Ruamrudee
Ploenchit Road, Lumpini, Pathumwan
Bangkok 10330 Thailand
Copyright © 2022 Piriya Krairiksh Foundation. All Rights Reserved